วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชนิดของตู้

ศึกษาตู้สูตร ทั้งปริมาตร และการออกแบบ
ลำโพงที่ติดตั้งแบบ FREE AIR ที่ขับความถี่ต่ำ จะผลิตเสียงได้เพียงเล็กน้อย และไม่มีเสียงเบสส์ แต่อย่างใด และในบางครั้งจำเป็นต้องแยกการป้องกันเสียงสะท้อน หรือห้องกักอากาศให้ตู้ลำโพงอย่างเหมาะสมกับลำโพงรุ่นนั้นๆ หรือตามข้อกำหนดจากโรงงาน ซึ่งโรงงานผู้ผลิตจะกำหนดค่า T/S PARAMETERS เช่น ค่า FS, QTS และ VAS ฯลฯ ของลำโพงแต่ละรุ่น มาให้อย่างถูกต้อง และ สำหรับตู้ลำโพงนั้น มีหลายประเภทด้วยกัน ตัวอย่าง เช่น

ตู้ปิด

ตู้ปิด สามารถออกแบบสร้างได้ง่ายกว่าตู้ลำโพงแบบอื่น โดยใช้ข้อมูลที่โรงงานกำหนดมา เช่น ค่า FS, QTS, VAS และ X-MAX เพื่อใช้ตัดสินใจเลือกขนาดของตู้ ในอดีตลำโพงซับวูเฟอร์ขนาด ใหญ่ ต้องการตู้ลำโพงที่มีขนาดใหญ่ด้วย แต่ปัจจุบันนี้ด้วยโครงสร้างวิศวกรรม และเทคโนโลยีใน การผลิตลำโพงนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทำให้ลำโพงซับวูเฟอร์ขนาด 10"-12" สามารถติดตั้ง ในตู้ปิดที่มีขนาดเล็กเพียง 0.7-1.0 ลูกบาศก์ฟุต ได้อย่างง่ายดาย และไม่เสียเนื้อที่ในการติดตั้ง ภายในห้องเก็บของด้านหลัง

ในด้านคุณภาพเสียงเบสส์ สำหรับตู้ปิดนั้น สามารถให้การตอบสนองค่าความถี่ต่ำได้ฉับพลันกว่า โดยเฉพาะนักเล่นที่เน้นในด้านคุณภาพ หรือการแข่งขัน SQ

สำหรับการคำนวณหาปริมาตรตู้ที่แท้จริง จำเป็นต้องหักความหนาของวัสดุของตู้ออกไปด้วย หรือคำนวณโดยวัดจากด้านในตู้ไม้ รวมความหนาของเนื้อไม้ ไฟเบอร์กลาสส์ และสามารถออกแบบตู้ได้หลายรูปทรง เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และ ทรงกระบอก ตามตัวอย่าง สูตรคำนวณด้านล่าง

สูตรคำนวณตู้ทรงสี่เหลี่ยม

พื้นที่หน้าตัด = สูง (H)xกว้าง (W) ปริมาตร = สูง (H)xกว้าง (W)xลึก (D)

สูตรคำนวณตู้ทรงสามเหลี่ยม

พื้นที่หน้าตัด = 1/2xส่วนลึก (D)xส่วนสูง (H) ปริมาตร = 1/2xส่วนสูง (H)xกว้าง (W)xส่วนลึก (D)

สูตรคำนวณตู้ทรงกระบอก

พื้นที่หน้าตัด = 3.1428x(เส้นผ่าศูนย์กลาง) ปริมาตร = 3.1428xเส้นผ่าศูนย์กลางxลึก (D)

สูตรคำนวณตู้สี่เหลี่ยมคางหมู

พื้นที่หน้าตัด = 1/2x(W1+W2)xส่วนสูง (H) ปริมาตร = 1/2x(W1+W2)xส่วนสูง (H)xส่วนลึก (D)

นอกจากนี้ยังมีสูตรคำนวณรูปทรงตู้ที่แปลกๆ ออกไปอีก เช่น รูปทรงหลายเหลี่ยม รูปกรวย แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง เพราะในการใช้งาน และติดตั้งจริง ส่วนใหญ่จะตีตู้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมกันมากที่สุด สำหรับท่านที่ไม่ถนัดเรื่องการคำนวณ ปัจจุบันมีพโรแกรมคำนวณตู้ลำโพงที่สามารถออกแบบตู้ได้ทั้งแบบปิด เปิด และตู้พาสสีฟ เรดิเอเตอร์ เช่น พโรแกรมสำเร็จรูปของ BASSBOX PRO โดย ใช้โนทบุค หรือคอมพิวเตอร์ ช่วยในการทำงาน

ตู้เปิด

ลำโพงในตู้เปิดมีประสิทธิภาพที่สูง (3 ดีบี) สามารถรับกำลังขับได้สูงกว่าตู้ปิด ในตู้เปิดเสียงจากลำโพง และท่อจะทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อสร้างระดับเสียงที่สูง และเสียงที่ออกจากท่อจะต้องเสริมเป็นคลื่นเดียวกับเสียงที่อยู่ด้านหน้าลำโพง จึงทำให้ตู้เปิดมีประสิทธิภาพ (3 ดีบี) สูงกว่าตู้ปิด โดยเฉพาะการแข่งขัน SPL ตู้ประเภทนี้ จึงเป็นที่นิยมของนักแข่งขันกันอย่างมากมาย แต่สำหรับการออกแบบตู้เปิด จุดสำคัญอยู่ที่ ท่อระบายเสียง ถ้าหากออกแบบไม่ถูกต้อง จะทำให้เสียงเบสส์คลาดเคลื่อน ซึ่งจะต้องเลือกเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ และความยาวที่ถูกต้องจากที่โรงงานกำหนด

นอกจากนี้ภายในตู้จำเป็นต้องบุวัสดุดูดซับเสียง เช่น ใยแก้ว เพื่อป้องกันค่าความถี่จากคลื่นสั่นค้างด้านหลังกรวยลำโพง ซึ่งจะทำให้เกิดความเพี้ยนของเสียงได้ ส่วนชนิดของลำโพงที่สามารถใช้ได้ดีกับตู้เปิด สามารถดูได้จากค่า T/S PARAMETERS เช่น ค่า QTS ของลำโพงต่ำกว่า 0.25-0.4 แนะนำให้ตีตู้เปิด และถ้า QTS ของลำโพงสูงกว่า 0.45-0.6 แนะนำให้ตีตู้ปิด ซึ่งจะต้องสังเกตสเปคที่โรงงานกำหนดด้วย

ตู้แบนด์พาสส์

ตู้แบนด์พาสส์เป็นตู้ที่ให้เสียงเบสส์แบบกระแทกกระทั้น มีความชัดเจน หนักแน่นกว่าตู้ปิด และตู้เปิด โดยใช้หลักการของตู้ปิด และตู้เปิดมาผสมผสานร่วมกัน และใช้หลักการกรองค่าความถี่เฉพาะย่าน หรือ BANDPASS ซึ่งอยู่ในช่วงค่าความถี่ประมาณ 80-120 HZ ฉะนั้นการออกแบบตู้แบนด์พาสส์จึงต้องคำนวณตู้ที่เหมาะสม และให้ถูกต้องกับค่าที่โรงงานกำหนด ตู้ประเภทนี้ออกแบบยากมาก ส่วนใหญ่จะใช้พโรแกรมตู้ลำโพงช่วยในการคำนวณให้ถูกต้อง

ตู้ ISOBARIC

ตู้ ISOBARIC เป็นตู้ที่ต้องใช้ลำโพงซับวูเฟอร์ 2 ดอก โดยต่อหันหน้าเข้าหากัน ส่วนปริมาตรตู้ จะใช้เพียงครึ่งหนึ่งของตู้ปิด และตู้เปิด โครงสร้างของตู้ประเภทนี้ จะทำงานเหมือนกับตู้ปิด และ ตู้เปิด โดยหลักการทำงานของลำโพงซับวูเฟอร์ จะใช้วิธีต่อเข้ากับซับวูเฟอร์ดอกที่ 1 ในลักษณะ ถูกเฟส และดอกที่ 2 ต่อต่างเฟสกัน การทำงานจึงเป็นในลักษณะ PUSH-PULL หรือผลัก และ ดัน แต่ก็มีทั้งข้อดี และเสีย คือ ตู้มีขนาดเล็กเพียงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับตู้ปิด และเปิด สามารถ ติดตั้งในรถที่มีเนื้อที่จำกัดได้เป็นอย่างดี ส่วนข้อเสีย คือ การทำงานเหมือนใช้ซับวูเฟอร์เพียงดอกเดียว ทำให้ตู้ประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้งานกันสักเท่าไร

นอกจากนี้ยังมีตู้ประเภทอื่นๆ อีกหลายแบบ แต่ไม่ได้รับความนิยมในการเล่น โดยเฉพาะนักเล่น
ในปัจจุบันนี้ จะนิยมเล่นตู้ปิด และตู้เปิด ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สำหรับฉบับหน้าจะเป็นเรื่องราวอะไรนั้น โปรดติดตามกัน

การตีตู้ลำโพงซับรถยนต์

เเหล่งข้อมูล

http://umakemysound.blogspot.com/2012/06/blog-post.html


การตีตู้ลำโพงซับรถยนต์


สวัสดิ์ ครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอ เรื่องของการ ตีตู้ลำโพงซับ ในรถยนต์ กันนะครับ

  ก่อนอื่นเลยนะครับ ต้องมาทำความรู้จักกับเรื่องของ ตู้ ลำโพงซับกันก่อนเลยนะครับว่า มีกี่แบบ

  การตีตู้ลำโพงซับในรถยนต์แบ่ง ใหญ่ๆได้ 2 แบบคือ ตู้ปิดและตู้เปิด

ข้อแตกต่างระหว่างตู้ปิดและตู้เปิดนั้น คือ  
1.ตู้เปิดนั้น ให้เสียงที่ค่อนข้างนุ่ม และ ลึก ครับ เหมาะกับคนที่ฟังเพลงแบบเสียง เบส ลอยๆครับ
2.ตู้ปิดนั้น แน่นอนครับแตกต่างจากตู้เปิดคือ ให้เสียงที่หนักแน่นโดยเฉพาะเสียง กระเดื่องกลอง

คำถามที่เจอบ่อยๆคือ เราจะรู้ได้ไงว่า รถ เราเหมาะที่จะตีตู้แบบไหน อันนี้ผมแนะนำให้ ดูพื้นที่ ที่จะเป็นที่ว่างตู้ลำโพงครับ
คือถ้ามีพื้นที่ มากๆ แนะนำตู้แบบ เปิด ครับ  แต่ถ้ามีพื้นที่น้อย แนะนำให้เป็นตู้ปิดครับ

เอาหล่ะครับ มาเข้าเรื่องของเรากันเลย คือ การตีตู้ครับ
ส่วนที่สำคัญ ของการตีตู้ลำโพง นะครับ คือ ปริมาตร ของตู้ครับ

1.มาเริ่มกันที่ การคำนวณ พิ้นที่ของตู้แบบ เปิด กันเลยนะครับ ตู้ที่ตีจะต้องเหมาะสมกับลำโพงซับที่เราจะใช้กับตู้ครับ สมมติว่า
ต้องการใช้ซับ ขนาด 10 นิ้ว วอยคู่ แม่เหล็ก1ก่อน ปริมาตรของตู้เปิดจะ ต้องเท่ากับ 0.5 ลูกบาศก์เมตรครับ

วิธีการคำนวณ คือ กว้างxยาวxสุง = ปริมาตรตู้ครับ
นำปริมาตรที่ได้ มา หารกับความยาวของลำโพง
เช่น
ขนาดตู้ = กว้าง18cm ยาว18cm สุง18cm
    = 1.8x1.8x1.8 = 5.832
          ความยาวลำโพง = 12cm
    = 5.832/12    =  0.486 = 0.5ลูกบาศก์

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ขนาดของท่อ ลม ของตู้เปิดด้วยครับ ขนาดท่อที่ แนะนำคือ ท่อPVC ขนาด 3นิ้วครับ
ส่วนความยาวของท่อลม นั้น ผมทำแบบนี้ครับ คือ
นำความยาวของลำโพง มา หารกับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อลม
เช่น    ความยาวลำโพง = 12cm = 4.7นิ้ว , ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อลม = 1.5นิ้ว
ถ้าต้องการเสียงที่นุ่ม ให้เอา 4.7+1.5  =จะได้ความยาวเสียงที่นุ่ม
แต่ถ้าต้องการเสียงที่ดัง ให้เอา 4.7-1.5 =จะได้ความยาวเสียงที่ดัง
เท่านี้ ก็ได้ ขนาดของตู้เปิดที่เราต้องการได้แล้วนะครับ ส่วนเรื่องของ ไม้ที่จะใช้ตี แนะนำว่ายิ่งหนายิ่งได้เสียงที่ดี ครับ มาตารฐานของการตีตู้ใช้ 1.5cm และ 2cm ครับ



2.การคำนวณของตู้ปิด นั้น ง่ายมากครับ ไม่ต้องคำนวณก็ได้ครับ ให้คิดง่ายๆ เลยครับว่า   ใช้ซับขนาด 10 นิ้ว  ความยาวซับ 12cm ให้ตีตู้แบบ หน้าซับ +1.5นิ้ว
เช่น ให้ตีให้ หน้าตู้ลำโพง กว้างกว่า หน้าลำโพงข้างละ 1.5 นิ้ว นั้นเองครับ ถ้ายังไม่เห็นภาพ ลองดู ภาพด้านล่างนี้ครับ


พอจะเข้าใจกันแล้วใช่ไหมครับ จากภาพ การตีตู้ แบบปิด แนะนำให้ ใช้ไม้ที่ หนาครับ

หลักสำคัญอีกอย่างของการตีตู้คือ การตีให้ตู้ไม่มี อากาศเข้า หรือ รู เลยแม้แต่ รู เดียว ในการ ประกบไม้ให้เอากาว ขาวธรรมดา ไม่ต้องผสมอะไร ทาตรงบริเวณที่
จะประกบไม้เข้าด้วยกัน จะได้ทำให้ การประกบไม้นั้น แข็งแรงขึ้นและ ลด ช่องว่าง ของไม้ครับ

วันนี้ พอเท่านี้ก่อนนะครับ วันหลังจะเอาภาพการตีมาใส่ให้ดูกัน จะๆ เลยนะครับ วันนี้ ง่วงนอน ครับ ^^ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยครับ




แถมเล็กน้อยครับ อันนี้เป็นการตีตู้แบบที่เรียก กันว่า แบนพาสครับ แบบนี้ให้แนวเสียงที่ดังอย่างเดียวครับ  ใครแน่นเสียงดี คงจะรู้ว่าเสียงมันดังลูกเดียว อิอิ  อันนี้ตู้ในรถผมครับ




วันหลังจะมา แนะนำสำหรับข้อดี และ ข้อเสีย ของการตีตู้แบบ แบนพาส กันนะครับ และทริปเล็กๆสำหรับคนที่ต้องการ ตีตู้แบบนี้ กันนะครับ ^^

ลำโพงเครื่องเสียงบ้าน เอามาต่อ เครื่องเสียงรถยนต์ได้ไหม ?

ลำโพงรถส่วนมาก impedance 4 OHM ลำโพงบ้าน ส่วนใหญ่จะ 8 OHM ใช้กันใด้ แต่มันกินกำลังเครื่อง หรือไม่ดังเท่าที่ควร ไม่ต้องสนใจมันลำโพงอะไร ดูที่เครื่องเสียง กับลำโพง ให้ impedance มันตรงกัน ลำโพงทนวัตต์ ไหว ก็ใช้ใด้ทั้งนั้น
__________________________________________

เล่นแต่เครื่องเสียงบ้านแหะ แต่จริงๆก็น่าจะได้ครับแต่ไม่นิยมมันจะไม่เหมือนเดิม เสียงอาจดร็อบลงไม่ดังเท่าเดิมเพราะ
ค่าต้านทานลำโพงบ้านส่วนใหญ่ 6-8 โอม ลำโพงรถส่วนใหญ่เห็น4 โอม
ลำโพงที่ค่าต้านทาน 4โอม แอมป์จะใช้กำลังขับน้อยกว่าลำโพงที่มีค่าต้านทาน 6 หรือ8โอม ที่ความดังระดับเท่ากัน
หมายความว่าสมมุติวอลุ่มบิดไปที่เลข 5 เหมือนกันลำโพงที่ค่าต้านทาน4โอมจะดังกว่าตัวที่ค่าต้านทาน 6 หรือ8โอม
แต่ต้องดูความไวของลำโพงด้วย ยิ่ง dbสูง แอมป์ยิ่งขับง่ายคือเปิดนิดเดียวก็ดังแล้ว
ดีบีสูง+ต้านทานต่ำ เปิดนิดเดียวก็ดังสนั่น ถ้าดีบีต่ำ+ค่าต้านทานสูง แอมป์จะขับไม่ค่อยออก
เพราะฉะนั้นดูลำโพงบ้านที่จะเอามาต่อให้ดีๆว่าขับง่ายเปล่าเพราะส่วนใหญ่มันจะขับยากกว่า 
ดีบีสูงๆขับง่ายๆหน่อยก็ประมาณ89ดีบีขึ้นบางตัวดีบีสูง100อัพก็มี
__________________________________________

ได้แต่มันไม่ดีครับ เพราะว่าความต้านทานในตัวลำโพง กับเครื่องเสียงที่ติดรถมันมีจำนวน โอห์ม ที่แตกต่างกัน

คือลำโพงบ้านส่วนใหญ่จะมีความต้านทาน 8 โอห์ม แต่เครื่องเสียงรถ ส่วนใหญ่จะมีความต้านทานที่ 4 โอห์ม

ดังนั้นถ้าเอามาต่อเล่นมันจะกระทบกับเครื่องเสียงอาจทำให้เสียได้ ถ้าเล่นไปนาน ๆ และเสียงที่ได้จากการฟัง

ก็คงไม่เพราะเหมือนกับลำโพง 4 โอห์มครับ สรุปลงทุนซื้อลำโพงที่ใช้กับเครื่องเสียงรถโดยตรงดีกว่านะครับ 

จะได้ไม่เข้าข่าย "เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย"
_________________________________________

เท่าที่ผมเคยลองทำเล่นๆ   ลำโพงกลางแจ้ง(PA)   ลำโพงบ้านที่ใช้ในห้อง   ลำโพงรถยนต์  หากนำมาใช้ผิดประเภทเสียงจะไม่น่าฟังหรือฟังไม่ได้เลย     นำลำโพง PA สำหรับใช้งานกลางแจ้งมาใช้ในบ้านหรือในห้องจะพบปัญหาเสียงแข็งเสียงคม   เสียงก้องสะท้อนมารบกวนเสียงที่แท้จริง         หรือลำโพงบ้านไปใช้ในรถยนต์จะพบปัญหาเสียงก้อง   เสียงสะท้อนเยอะเกินทำให้กลบความถี่อื่นๆ เสียงอู้เสียงไม่ชัดเจน     แต่ถ้านำลำโพงรถยนต์มาใช้กลางแจ้งหรือในบ้านจะพบปัญหาเสียงไปได้ไม่ไกล   เสียงไม่ครอบคลุมพื้นที่ของห้องต้องเพิ่มจำนวนดอกลำโพงและกำลังขับเพื่อให้ได้เสียงอย่างที่เราต้องการ  ครับ
____________________________________
ร้านทิกเกอร์ซาวด์:
   หลาย ๆ คนเคยมีคนถามว่าดอก ลำโพงแบบ 4โอมห์ กับ8 โอมห์ แตกต่างกันยังไง ความแตกต่างนั้นมีแน่นอนครับ แต่เรามาชม คำถามที่ผมเคยได้ยินจากลูกค้า เนื่องจากผมเปิดร้าน ทำทั้งรถยนต์และ pa จึงมีความเชื่อ ที่ผิดบ้างถูกบ้าง จากลูกค้าหลายท่านหลายคน ต่างหลากหลายความคิด และจากการใช้งานที่แตกต่างกัน
          1 ดอกรถยนต์ 4 โอมห์ทนกว่า ดอกลำโพง pa
          2 ดอกลำโพง pa เสียงเบสไม่ออก
          3 ดอกลำโพง pa เบสลงไม่ลึก
          4 ดอก pa กินวัตต์ มากว่าลำโพงรถยนต์
          5 ดอกลำโพง pa เสียงกลางออกดีกว่า
          6 ดอกลำโพง pa เสียงไม่นุ่ม
          7 ดอกลำโพงpa มาตรฐานสู้ของรถยนต์ไม่ได้
          8 ดอกลำโพงpa ความดังเปิดตัวต่อตัว ความดังสู้ของดอกลำโพงรถยนต์ไม่ได้
          9 คนที่ใช้ดอก pa ใส่รถยนต์ถือว่าเสียศักดิ์ศรี ขี้โกง เอาดอกบ้านมาใส่เลยดังแรง
          10 ดอก pa มีแต่ขอบลำโพงแบบแข็งเสียงไม่ดี ต้องเอามาแต่งใส่ขอบอ่อน
          11 ว้อยลำโพงรถยนต์ตัวแรง เจ๋งกว่าของกลางแจ้ง
          12 ลำโพง pa ทนแต่ดังไม่แรง
          13 ลำโพงรถยนต์เบสออกดีกว่านิ่มและเป็นลูก
          14 ลำโพง pa เสียงแหลมจัดเบสก็ไม่นิ่มสู้ของรถยนต์ไม่ได้
          15 ลำโพงรถยนต์เทคโนโลยีเหนือกว่าลำโพง pa
                   
         สาระพัน อาจจากปากต่อปาก หรือเกิดจากความคิดของตนเอง ความคิดที่ผมก็ไม่กล้าออกความเห็น ทุกความคิดได้ยินมาจากลูกค้า ทั้งงานรถยนต์และงาน pa ใช้ได้ครับพี่ , ดีมากครับผม,เหมาะสมมากครับ , ก็เลยต้องคล้อยตามคำพูด ความคิดและประสพการณ์การฟังของลูกค้าแต่ละท่าน ที่มาเยี่ยมชมในขณะนั้น จนไม่ลืมหูลืมตา   (ออกความเห็นแนะนำไม่ได้เดี๋ยวเขว หาว่าเราหวังดีเกินเหตุ) วันนี้ผมจะมาเล่าสูกันฟังว่าทำไมดอกลำโพง 4 โอมห์กับ 8โอมห์ มันแตกต่างกันยังไง?ตามที่ได้เคยศึกษาและวิเคราะห์จากสื่อต่าง ๆ ครับ อาจจะถูกบ้าง ผิดบ้าง ขออภัยครับ

   เรื่องของเรื่องมันอยู่ที่กำลังวัตต์ และการใช้งาน  ผมขอเล่าย้อนอดีดสมัยที่มีคนคิดค้นผลิตเครื่องเสียงรถยนต์เกิดขึ้นมา ในตอนแรกกำลังวัตต์ที่ออกมาจากเครื่องเสียงรถยนต์สมัยนั้น กำลังวัตต์มันน้อยมากครับ ยกตัวอย่างเช่น
             สมมุติว่า กำลังวัดต์ที่ออกมาจากเครื่องอาจมีเพียง 5 - 10 วัตต์  ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ  -ดอกหนึ่ง 10 วัตต์ 8 โอมห์
              -ดอกหนึ่ง 10 วัตต์ 4 โอมห์
ไปต่อกับเครื่องเสียงรถยนต์รุ่นเก่า ที่ยกตัวอย่าง 2 แบบนั้น ดอกลำโพงที่มีความต้านทาน 8 โอมห์จะมีเสียงที่ออกมาเบากว่า  ดอกที่มีความต้านทานที่ 4 โอมห์ อย่างเห็นได้ชัด
              จริงอยู่เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ สามารถทำให้ดอกที่มีความต้านทานมากกว่า หรือ ดังเทียบเท่า ดอกลำโพงที่มีความต้านทานน้อยได้ แต่ต้นทุนสินค้าสูงกว่า เลยใช้วิธีนี้แค่เปลี่ยนแปลงว้อยคอล์ยนิดหน่อย ก็ผลิตสินค้าออกมาแล้ว
               ดอกลำโพงรถยนต์ในยุคเริ่มแรก เลยติดรถมาแค่ 4 โอมห์ล้วน ๆ เนื่องจาก หลักการคิดทีว่ากำลังวัตต์จากเครื่องที่ออกมากับค่าความดังของเสียงโดยรวมที่ออกมาแล้ว อันไหนดังกว่ากัน แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
           1 . คนที่ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์แบบ  4 ch ขึ้นมาพร้อมดอกลำโพงที่ติดตั้งมาจากโรงงาน โดยคิดว่าไม่มีใครไปดัดแปลง หรือต่อลำโพงเพิ่มขึ้นแน่นอน โดยติดตั้งลำโพงข้างหน้า 1 คู่ ข้างหลัง 1 คู่ ทำให้มีความต้านทานที่ 4 โอมห์เท่ากันทุกดอก
              สมาชิกหลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ถ้าเอาลำโพงมาพ่วงขนานกันเรื่อย ๆ ค่าความต้านทานจะต่ำลง สมมุติว่า  8 โอมห์ต่อขนาน 4 ดอกเหลือ 2 โอมห์ ซึ่งแอมป์บางเครื่องนั้น ถ้าไม่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับการใช้งาน รับรองว่า คงจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปรกติ   แต่ถ้าใช้ข้างละ 2 ดอก จะเหลือ 4 โอมห์ จะทำให้ขับเสียงออกมาได้อย่างสบาย  ไม่ทำให้แอมป์ร้อน
             สำหรับดอกลำโพง pa  ที่มีค่าความต้านทานสูง  สามารถต่อพ่วงได้หลายดอก ไม่เหมือนกับ เครื่องเสียงรถยนต์ ที่ใช้ต้องดอกลำโพงเดิม ๆ
            สำหรับลำโพงรถยนต์ที่เป็น 4 โอมห์อยู่แล้วนั้น  ถ้าหากบางท่านอยากเพิ่มความดัง  จึงซื้อดอกลำโพง มาต่อขนานเพิ่มอีกดอก 4 โอมห์เหมือนกัน ทำให้เหลือ 2 โอมห์ ทำให้ต้องต่อขนานเพิ่มขึ้นไปอีก เป็น 3 ดอก  จึงทำให้ค่าความต้านทานเหลือแค่โอมห์กว่าเท่านั้น
            คล้าย ๆ กับการใช้สายลำโพง มาแตะกัน จึงทำให้เกิดการช๊อตกันเกิดขึ้น  รับรองว่าเครื่องเสียงคงจะใช้งานได้ไม่นาน  เพราะการออกแบบเพาเวอร์แอมป์ ตัวเครื่องจะต้องมีการระบายความร้อนที่เหมาะสม จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญของเพาเวอร์แอมป์  ซึ่งด้อยกว่าเครื่องเสียง pa อยู่มาก
            ยกตัวอย่าง  เช่น  การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ในเครื่องเสียงรถยนต์ ที่มีขนาดใหญ่ เท่ากับเครื่องเสียง  pa นั้น จะทำให้มีเสียงรบกวน  และอาจจะทำให้เพาเวอร์แอมป์ดูเทอะทะ กรณีนี้มองถึงเครื่องเสียงรถยนต์ส่วนใหญ่ในตลาด ไม่รวมถึงเพาเวอร์ class d นะครับ  เพราะว่าเพาเวอร์ class d ที่ออกแบบมาให้ใช้ สำหรับดอกลำโพง สามารถโหลดโอมห์ต่ำได้ แต่ในตลาดเครื่องเสียงรถยนต์โดยรวม  ส่วนใหญ่ก็จะเห็นได้แต่ที่ใช้ขับเสียงซับเสียงวูฟเฟอร์เท่านั้นครับ

  ความต้านทานของดอกลำโพงบ้าน ที่มี 8 โอมห์ เมื่อนำไปใช้งานแล้ว ยังสามารถต่อพ่วงกันได้ในความต้านทานที่เหมาะสมกันเพาว์เวอร์ที่ใช้อยู่ ตามรูปแบบของงานต่างต่าง
ยกตัวอย่างลำโพงฮอนส์ ทำไม มีค่าความต้านทานที่ 16โอมห์ ก็เพราะเขาออกแบบมาให้พ่วงกันได้เยอะไงครับ 16โอมห์สองตัวขนานกันเหลือ8 ถ้าขนานกัน4ดอก เหลือ4 โอมห์ ขนานกัน 8ดอก ยังมี 2 โอมห์ ซึ่งเพาว์เวอร์แอมป์ที่ใช้กับลำโพงแบบนี้ สามารถใช้งานในภารกิจตรงนี่ได้สบายครับ
ร้านทิกเกอร์ซาวด์:
         เรื่องมันเกิดจากเหตุการณ์  และความเป็นมาตอนแรก ที่ครั้งหนึ่งมีคนเอาดอก 4 โอมห์มาใส่ในเครื่องเสียงรถยนต์ ผลที่ได้คือเสียงดังแรง  แต่ไม่กินวัตต์ จนกลายเป็นมาตรฐานของดอกลำโพงรถยนต์ในปัจจุบัน แต่มีข้อจำกัด คือการที่ต่อดอกลำโพงเพิ่มไม่ได้ เพราะความต้านทานจะต่ำลงเลยแต่ทำให้เกิดการเสียหายกับเพาว์เวอร์แอมป์ หรือเครื่องเสียงรถยนต์ได้
         แต่ในปัจจุบัน ในตลาดของเครื่องเสียงรถยนต์ ที่มีการแข่งขันของสื่อโฆษณามากมาย ว่ากันไป ดอกลำโพงเสียงกลางตัวแข่งต่อได้หลายลูก แต่ใช้เพาว์เวอร์ 2 ch ตัวเีดียวจะขับได้ถึง 4 ดอกแบบสบาย ๆ ตามที่โฆษณา ซึ่งทุกวันนี้เพาว์เวอร์ของเครื่องเสียงรถยนต์  มีกำลังวัตต์ที่สูงมาก จนใช้กับลำโพง 8 โอมห์ ได้แบบสบายมาตั้งนานแล้ว แอมป์ตัวเดียวสามารถต่อ (ขับ) ได้ 4 ดอก แบบจับใจ ตามที่โฆษณาในสื่อต่าง ๆ ดอกลำโพงที่ออกมาสู่ตลาดเครื่องเสียงรถยนต์ ในระดับโคโยตี้ เดือนละ 2 ยี่ห้อ จนคนซื้อหาเงินอุดหนุนแทบไม่ทัน ท่านเคยลองเอามิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานแล้วหรือยัง ส่วนใหญ่ค่าความต้านทาน ของดอกลำโพง 4 โอมห์แน่นนอน ที่แน่ ๆ ทวีตเตอร์แบบจานส่วนใหญ่ ท่านเคยลองแลวหรือยัง ว่าดอกลำโพงของเสียงกลาง(ตัวแข่ง)ของรถยนต์ ส่วนใหญ่ คือลำโพง 8 โอมห์ หรือลำโพงบ้านของเราดี ๆ นี่เองครับ
         ความต้านทานที่ดอกลำโพงไม่ใช่ 4 โอมห์นะครับ พูดถึงเรื่องค่าความต้านทาน คำว่า      ค่าความต้านทานที่ลำโพง 8 โอหม์ เมื่อเอามิเตอร์วัดที่ขั้วลำโพงแล้ว จะเห็นได้ว่าไม่ได้ 8 โอหม์ ส่วนใหญ่อาจจะมีค่า 6 โอมห์กว่า ๆ ถ้าดอกลำพง 4 โอมห์ ก็จะมีค่าความต้านทานน้อยกว่านี้ตามลำดับ เมื่อเอามิเตอร์สองข้างมาวัดค่าความต้านทานค้างไว้ บอกยังไงดี เอาแบบเข้าใจง่ายนะครับ ค่าความต้านทานของดอกลำโพง ค่าเป็นอิมพีแดนซ์ คือความต้านทานต่อไฟฟ้าสลับ impdance คำว่า แดนซ์ ตัวหลังแปลว่าเต้นไม่นิ่ง ไม่แน่นอน ค่าความต้านทานจริงสามาถคำนวณได้ แต่หลายคนจะเบื่อ ผมจะยกตัวอย่างง่าย ๆ ครับ เมื่อเอามิเตอร์วัดค้างไว้ที่ขั้วลำโพง บวกและลบแล้ว ลองขยับหน้าลำโพง เข้าและออก โดยใช้มือดันกระดาษกรวยของดอกลำโพง  เข้าและออกขึ้นลง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของความต้านทานแบบคร่าว ๆ ดอกลำโพง 8 โอหมห์ บางที่อาจจะสวิงขึ้นและลง เป็น 8,6,5,4 โอมห์ ส่วนดอกลำโพง 4 โอมห์ อาจจะสวิงขึ้นลง  2,3,4 โอมห์ (หนักไหมครับ)บางทีอาจจะเหลือแค่ 2 โอมห์ ส่วนดอกลำโพง 4 โอมห์ ถ้ามีสองดอกขนานกันอาจจะเหลือแค่ 2โอมห์ได้ บางทีสวิงเหลือ 0.5 หรือ1 หรือ 2 ตามลำดับ อันนี้การยกตัวอย่างอย่างเข้าใจง่าย ๆ นะครับ
ร้านทิกเกอร์ซาวด์:
         ลำโพงสำหรับซับในเครื่องเสียงรถยนต์ ระดับโคโยตี้ ว้อยจะต้องทนกว่าลำโพงบ้าน ลำโพงซับในงาน pa ในการออกแบบ ไม่ได้ตั้งใจจะออกแบบให้ว้อยไม่ทนหรือใช้ว้อยเล็ก หรือบางทีมีระยะ่ห่างเวลาเปลี่ยนว้อยจากเฟรม และทีโยคชิดมาก บางทียังใช้ลวดแบนเป็นว้อยคอล์ย หรือตอนนี้มีลวดแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชนิดต่าง ๆ ทั้งอลูมิเนียม,ทองแดง,ทองแดงผสม ทำให้ชิดกว่าเดิม และมีช่วงชักที่พอดี เนื่องจากไม่ลึกเท่าดอกในเครื่องเสียงรถยนต์ การออกแบบที่เน้นรายละเอียดของเสียงต่ำ ที่ต้องคลุมความถี่ เพื่อตอบสนองทุกความถี่ ในช่วงการทำงานของคลื่นเสียง ให้ราบเรียบ และนิมนวลที่สุด การออกแบบจึงจะเป็นต้อง ให้เกิดความเพี้ยนของเสียงน้อยสุด ลวดที่นำไฟฟ้าได้ดีที่สุด ระบายความร้อนได้ดีสุด ใช้กำลังวัตต์คุ้มค่ามากสุด ช่วงชักไม่มากเกินความจำเป็น เนื่องจากดอกลำโพง ถ้าช่วงชักมากเกินไป จะทำให้เกิดการสวิงขึ้นและลง ที่มีระยะที่มากจนทำให้ดอกลำโพงคืนตัวมาอยู่ในตำแหน่งตรงกลางช้ากว่า เนื่องจากช่วงชักที่มากเกินไป
จนทำให้เสียงเพี้ยนและเบลอไม่เป็นลูกในที่สุด
ร้านทิกเกอร์ซาวด์:
       ดอกลำโพงรถยนต์(ตัวแข่ง) ระดับโคโยตี้ ตอบสนองการบูสเบส หรือการบูสในช่วงความถี่ ยาวสั้นจัดไป จึงออกแบบให้มีช่วงชักที่มากกว่า ซึ่งในงานเครื่องเสียง pa ความถี่เสียงที่ออกมาตรงนี้อาจล้นเกินไป ตามหลักการไม่มีประโยชน์ครับ มันไม่มีความเป็นดนตรี มากเกินไปไม่เอา เพราะมันมีผลต่อความถี่ข้างเคียงและเครื่องมือเครื่องใช้โดยเฉพาะระบบไมค์
       ลำโพงรถยนต์ระดับโคโยตี้ ว้อยพันแน่นหนาสี่ชั้น รองรับจะมีกำลังขับมหาสาร แต่มีช่องว่างระหว่างว้อย และเฟรมกับทีโยค มาก เพราะอะไร เนื่องจากว้อยลำโพงรถยนต์ตัวแข่งส่วนใหญ่มีขนาดรอบวงที่กว้างและพันด้วยลวดทองแดงกลมเบอร์ค่อนข้างใหญ่ บางทีพันสูงมาก และหนา ตามช่วงชัก และความหนาของแม่เหล็กหลายชั้น และความห่างของแก็ป ของลำโพงรุ่นนั้น บางทีพันลวดมากทั้งหนักสูงและหนา อาจทำให้เวลาใช้งานลวดอาจสบัดไปติดเฟรม หรือแกนกลางได้ ว้อยเลยมีระยะที่ค่อนข้างห่างจากแกนกลาง และเฟรม แต่โดยรวมแล้วลำโพงพวกนี้มีจุดอ่อนครับ เมื่อติดตั้งลำโพงในแนวตั้ง ตามกฎของแรงโน้มถ่วงของโลก ด้วยน้ำหนักของว้อยที่มาก จะทำให้ว้อย เกิดเอนเอียงหย่อนลงไปตามแรงดึงดูดของโลก ทำให้เวลาใช้งานการสบัดไปมาอาจเกิดการ ว้อยสบัดไปเสียดสีกับเฟรมได้เนื่องจากน้ำหนักของว้อยคอล์ยที่มาก ถ้าเป็นสไปร์เดอร์สองชั้นจะช่วยได้มากแต่ก็ยังเกิดปัญหานี้อยู่ เพราะว้อยหนา และสูงมาก ดังนั้นดอกลำโพง pa จึงไม่นิยมใช้ลวดที่มีน้ำหนักมาก อีกทั้งยังพยายามพัฒนาเป็นลวดอลูมิเนียม ลวดแบนลวดสี่เหลี่ยม พันว้อยในนอกเพื่อลดความร้อนบ้าง พัฒนาในหลักการที่ว่าทำยังไงไม่กินวัตต์และทำยังไงให้ได้การรองรับพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น แบบฟรี ๆ เทคนิคคือการระบายความร้อนและการออกแบบที่ไปไกลกว่ามาก และยังใช้เทคนิดสไปเดอร์คู่เข้ามาเสริมอีก
ร้านทิกเกอร์ซาวด์:
      ผิดถูกเพียงใดนี่เป็นเพียงคำตอบในแนวคิดที่ผมวิเคราะซึ่งมันอาจจะผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ  ทั้งนี้ทั้งนั้นในวงการหรือกลุ่มของคนที่เล่นเครื่องเสียงทั้งรถยนต์ และกลางแจ้ง เราต้องเชื่อในความคิดของตนเองไม่รู้ขนขวาย ความแตกต่างของเครื่องเสียงทั้งสองอย่างคือ เขาทำติดตั้งระบบให้เราฟังเราเสียเงินแต่เราไม่ได้ทำเองเขาว่าดีเราก็ว่าดี แต่กับเราเสียเงิน ซื้อเครื่อง pa วางระบบติดตั้งเองปรับแต่งเองแสดงผลงานกับผู้คนตามงานต่าง ๆ แถมได้เงินมาอีก ต้องยืมสโลแกนของเพื่อนร่วมสายงานมาครับว่า ฟังเกิดปัญญาแล้วเงินตราจะตามมาเอง ยิ่งในวงการเครื่องเสียงกลางแจ้งอย่างพี่น้องทิกเกอร์รับรอง หลอกยากครับ เพราะสมาชิกต่างช่วยกันแลกเปลี่ยนความคิดหลักการอันไหนดีไม่ดีว่ากันไปตามเนื้อผ้า ทั้งระดับรากหญ้าและรากแก้ว ด้วยเหตุผลและหลักการ ลงทุนซื้อของตามอัตตภาพ เก่าของพี่ใหม่ของผม ช่วยกันด้วยดีตลอดมาครับ จนทำให้มีจำนวนสมาชิกที่มาก และเป็นที่สังคมออนไลน์ที่มีปัญหาน้อยที่สุด เพื่อนผมที่ทำเวปไซต์ด้วยกันยังชมอยู่ไม่ขาดปาก เครื่องเสียงรถยนต์ก็มีกลุ่มเล่นอยู่หลายระดับ กลางแจ้งก็เช่นกัน หนังสือเครื่องเสียงที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับเครื่องเสียงกลางแจ้งและรถยนต์ก็เช่นกัน สาระของทั้งสองก็มีความแตกต่างกันไป การโฆษณาเกี่ยวกับจากนิตยสารหลายค่ายของเครื่องเสียงรถยนต์ที่ต้องฟังหูไว้หู ซึ่งเรื่องเหล่านี้ จะมีน้อยมากที่จะเกิดกับนิตยสารเกียวกับเครื่องเสียงกลางแจ้งซึ่งในเนื้อหาจะเป็นเรื่องมีสาระและมีเหตุผลที่จะมีแต่เรื่องที่ทำให้เกิดการพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ เราต้องใช้เครื่องเสียงหากิน ถ้ามันไม่ดีมันมีผลกับงานของเราโดยตรง อาชีพเรา งานอดิเรกที่เราชอบ ความภูมิใจ อยู่ที่ความพอใจของผู้ชม และเรามีความสุขเมื่้อได้ทำ เท่านั้นก็พอครับ สวัสดีครับ


จาก : http://www.tiggersound.com/webboard/index.php?topic=84591.0;wap2